วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554

การเพาะต้นอ่อนเมล็ดทานตะวัน

ขั้นตอนการเพาะปลูกต้นอ่อนทานตะวัน (เพื่อการบริโภค) ในระบบปิด


เมล็ดทานตะวัน : สายพันธุ์ไทย เม็ดเล็กสีดำ ขนาด 2 J แหล่งที่มา : เกษตรกรผู้เพาะปลูกภายในจังหวัดลพบุรี



วัสดุปลูก : เม็ดดินเผา วัสดุธรรมชาติสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้หลังเก็บเกี่ยวทำการล้างให้สะอาด  ต้มในน้ำเดือดและตากแดดเป็นเวลา 2 วัน  จุดประสงค์ : เพื่อทำหน้าที่แทนดิน เป็นวัสดุในการยึดเกาะของราก


ขั้นตอนการปลูก : ล้างเมล็ดทานตะวันด้วยน้ำเปล่า 2 เที่ยว แช่น้ำอุ่นเป็นเวลา 12 ชม.


ขั้นตอนการปลูก : นำเมล็ดทานตะวันลงแปลงปลูก วางตะแกรงเกล็ดปลาขั้นกลางระหว่างวัสดุปลูก และเมล็ด ตะแกรงเกล็ดปลาช่วยให้การเก็บเกี่ยวและตัดรากเกิดขึ้นในขั้นตอนเดียว  ลดปัญหาเรื่องผักช้ำและดูแลความสะอาดได้ง่าย



วัสดุปลูก : กล่องพลาสติก วัตถุดิบ HD-Polyethylene (HDPE)  การเพาะในระบบปิด เพื่อลดปัญหาสิ่งรบกวนภายนอกทั้งหนูและนกพิราบที่มีความไวในการรับกลิ่น ของเมล็ดทานตะวันสูง จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้สารเคมีใดๆในการป้องกันหรือกำจัด


วัสดุปลูก : หัวน้ำหยด วัตถุดิบ HD-Polyethylene (HDPE) และแผ่นกรองน้ำ (Water Filter) เพื่อช่วยดักสิ่งสกปรกที่ตามองเห็นซึ่งอาจมาตามท่อส่งน้ำขณะ รดน้ำ


ระบบการจัดการน้ำ : น้ำที่เกิดจากการรดผักจะถูกปล่อยผ่านท่อลงจุดเก็บน้ำเพื่อลดปัญหาพื้นภายใน ฟาร์มเปียกชื้นตลอดเวลา เนื่องจากการปลูกต้นอ่อนทานตะวันต้องการน้ำเลี้ยง ตลอดทั้งวัน


ขั้นตอนการปลูก : นำต้นอ่อนทานตะวันอายุ 5 วัน ออกรับแสงแดดรำไรภายในโรงเรือนเพื่อให้ใบ เกิดการสังเคราะห์แสง ต้นอ่อนทานตะวันจึงมีคลอโรฟิลล์ซึ่งอาจเป็นข้อแตกต่างกว่าการเพาะถั่วชนิดอื่นๆ

อายุครบ 7 วันจึงทำการเก็บเกี่ยวและบรรจุเพื่อจำหน่าย